logo
กรมธนารักษ์
สำนักงานธนารักษ์พื้นที่อำนาจเจริญ
THE TREASURY
DEPARTMENT
MENU
  • A
  • A
  • A

เกี่ยวกับจังหวัด

ประวัติจังหวัดอำนาจเจริญ 

อำนาจเจริญ ก่อตั้งเมื่อประมาณ พ.ศ.2393 แขวงสุวรรณเขต ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศลาว) ได้อพยครอบครัวเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่บ้านค้อใหญ่ (ปัจจุบันคือบ้านอำนาจเจริญ ต.อำนาจ) แต่อยู่ในการปกครองของนครเขมราฐ (ปัจจุบันคืออำเภอเขมราฐ)

         เมื่อ พุทธศักราช 2437เจ้าพระพรหมวรราชสุริยวงศ์ เจ้าเมืองอุบลราชธานี คนที่ 2 ได้มีใบบอก ลงไปกราบทูลพระกรุณา พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ขอพระราชทานตั้งบ้านโคกก่ง กงพะเนียง (ปัจจุบันเป็นตำบลอยู่ในการปกครองของอำเภอชานุมาน) เป็นเมืองเขมราฐธานี พระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงกรุณาโปรดเกล้าให้ตั้งบ้านโคกก่งกงพะเนียง เป็นเมืองเขมราฐธานี ตามที่พระพรหมวรราชสิริยวงศา กราบทูล และ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้อุปฮาดก่ำ บุตรชายคนโตของพระวอ จากเมืองอุบลราชธานี มาเป็นเจ้าเมืองเขมราฐ(ที่ตั้งอยู่เมืองบริเวณบ้านคำแห้ว เมืองเก่า อำเภอชานุมาน) ได้รับสถาปนาเป็นพระเทพวงศา(ก่ำ)

         ต่อมาในปีพุทธศักราช 2369 เกิดศึกระหว่างกรุงเทพฯ กับกองทัพเจ้าอนุวงศ์ เจ้านครจำปาศักดิ์ ได้ยกทัพมายึดเมืองเขมราฐ ขอให้พระเทพวงศา (ก่ำ)เข้าเป็นพวกด้วย แต่พระเทพวงศาไม่ยอมจึงถูกประหารชีวิตพระเทพวงศา (ก่ำ) มีบุตรชาย 3 คน คือ พระเทพวงศา (บุญเฮ้า) คนที่ 3 ท้าวแดง มียศเป็นพระกำจนตุรงค์ ได้เป็นเจ้าเมืองวารินชำราบ พระเทพวงศา (บุญจันทร์) มีบุตรชาย 2คน คือ ท้าวบุญสิงห์ และท้าวบุญชัย ต่อมา ท้าวบุญสิงห์ ได้เป็นเจ้าเมืองเขมราฐ มียศเป็นพระเทพวงศา (บุญสิงห์) มีบุตรชาย 2 คน คือ ท้าวเสือ และท้าวพ่วย ซึ่งได้รับยศเป็น ท้าวจันทบุรมหรือจันทบรม ต่อมาในปีพุทธศักราช 2401 ได้กราบบังคมทูลยกฐานะบ้านค้อใหญ่ (ปัจจุบันอยู่ในท้องที ่อำเภอลืออำนาจ) ขึ้นเป็นเมืองอำนาจเจริญ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะบ้านค้อใหญ่ ขึ้นเป็นเมือง ให้ชื่อว่า "เมืองอำนาจเจริญ" เมื่อ พุทธศักราช 2410 และโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวจันทบรม (เสือ) เป็นเจ้าเมือง มียศเป็นพระอมรอำนาจ(ต้นสกุลอมรสิน) ดังปรากฏตราสารตั้งเจ้าเมืองอำนาจเจริญ ดังนี้

        สารตราเจ้าพระยาจักรี ศรีองครักษ์ สมุหนายก อรรคมหาเสนาบดี อภัยภริยปรากรมพาหุ มาถึง พระเทพวงศ์ พระอุปราช ราชวงศ์ ราชบุตร เมืองเขมราฐธานี" ด้วยมีพระราชโองการตรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า เจ้าพระยานิกรบดินทร์มหากัลยาณบัตร สมุหนายก กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า ท้าวจันทบุรม เป็นนายกอง ตั้งอยู่บ้านค้อบ้านหม้อแขวงเมืองเขมราฐธานี มีจำนวน คน พระสงฆ์ สามเณร 123 คน ชรา - คน พิการ 119ท้าวเพี้ย จ่าบ้าน 234ชายฉกรรจ์ 578 ข้าพระ36 ทาส 22 รวม 1117 คน รับผูกส่วย เงินแทนผลเร่ว เป็นหลวง ปีละ53 หาบ เมื่อถึงกำหนดปี ให้ส่งผลเร่วไปให้ครบจำนวน บ้านค้อ บ้านหม้อ มีไร่นา ที่ทำกินกว้างขวาง แต่บ้านค้อบ้านหม้อเดินทางไปเขมราฐธานี ใช้เวลาถึง 3 คืน จะขึ้นไป เมืองมุกดาหาร 4 คืน จะลงมาเมืองอุบลราชธานีถึง 3 คืน จะตัดไปเมืองยศ(เมืองยโสธร)2 คืน เจ้าเมืองเพี้ย ขึ้นลงไปมาเป็นที่พักอาศัยไม่ขาด เมื่อปีมะโรง อัฐศก ได้มีหนังสือ ขึ้นไปปรึกษาพระเทพวงศา พระอุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร เมืองเขมราฐธานี มีใบบอกให้ราชบุตรพาท้าวจันทบุรม นายกอง ท้าวเพี้ย ลงมาขอรับพระราชทาน ตั้งบ้านหม้อเป็นเมือง โดยขอให้ท้าวจันทบุรม เป็นเจ้าเมือง ท้าวบุตร เป็นอุปฮาด ท้าว สีหาราช เป็นราชวงศ์ ท้าวสุริโย เป็นราชบุตร ทำราชการขึ้นกับเมืองเขมราฐธานี แล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม จึงทรงพระราชดำรัสว่า ... "ผู้คนและไพร่พลมีมาก ควรตั้งเป็นเมืองได้ ครั้นจะสมัครอยู่ไหน ก็ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม จัดแจงตั้งเป็นเมือง ทำราชการขึ้นกับเมืองนั้น ทั่วไปทุกบ้านทุกเมือง "

        ซึ่งเจ้าพระยานิกรบดินทร์มหากัลยาณมิตร ที่สมุหนายกปรึกษา พระเทพวงศา พระอุปราช ราชวงศ์ราชบุตร จึงเห็นพ้องต้องกันพร้อมยกฐานบ้านหม้อ ขึ้นเป็นเมือง ขอให้ท้าวจันทบุรม เป็นเจ้าเมือง ท้าวบุตรเป็นอุปฮาด ท้าวสีหาราช เป็นราชวงศ์ ท้าวสุริโย เป็นราชบุตร ทำราชการขึ้นกับพระเทพวงศา เจ้าเมืองเขมราฐธานี นั้นชอบแล้ว ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระราชทานนามสัญญาบัตร ประทับตราพระบรมราชโองการ ตั้งท้าวจันทบุรม เป็นพระอมรอำนาจ เจ้าเมือง พระราชทานถาดหมาก คนโทเงิน สำรับหนึ่ง สัปทนแพรคันหนึ่ง เสื้อเข้มขาบริ้วดอกตัวหนึ่ง แพรสีทับทิม ติดขลิบผืนหนึ่ง ผ้าส่านวิลาศผืนหนึ่ง แพรหงอนไก่ลายผืนหนึ่ง ผ้าเชิงปูมผืนหนึ่ง เป็นเครื่องยศฐานาศักดิ์ ขึ้นรักษาเมือง ทำราชการขึ้นกับเมืองเขมราฐธานีสืบไป และท้าวจันทบุรม ผู้เป็นพระอมรอำนาจ ฟังบังคับบัญชาพระเทพวงศา อุปราชราชวงศ์ ราชบุตร เมืองเขมราฐธานี ให้ท้าวอุปราช ราชวงศ์ ท้าวราชบุตร เมืองอำนาจเจริญ ฟังบังคับบัญชา ท้าวจันทบุรม ผู้เป็นพระอมรอำนาจ เจ้าเมืองอำนาจ เจริญ แต่ที่ชอบด้วยราชการ อย่าให้ถือว่าแต่ก่อนอยู่ใต้บังคับบัญชาพระเทพวงศา เดี๋ยวนี้ได้แยกออกเป็นเมืองแล้ว อย่าได้ขัดแย้งต่อเมืองใหญ่ ฝ่ายพระเทพวงศา ก็อย่าอิจฉาพยาบาทถือเป็นเมืองเขาเมืองเรา มีราชการเมืองมาก็ให้ประนีประนอม ช่วยเหลือราชการให้เป็นอันหนึ่งใจเดียวกัน อย่าถือเปรียบแก่งแย่งให้เสียราชการได้ อนึ่งเมืองอำนาจเจริญเป็นเมืองที่ตั้งใหม่ เจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร ยังไม่รู้กฏหมาย แบบอย่างขนบธรรมเนียมให้พระเทพวงศา ว่ากล่าวสั่งสอนพระอมรอำนาจประพฤติแต่ที่ชอบที่ควร ฯลฯให้พระอมรอำนาจเจ้าเมือง พร้อมอุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร ท้าวเพี้ย ไปพร้อมด้วยพระเทพวงศา อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร เมืองเขมราฐธานี ณ อุโบสถพระวิหารเมืองเขมราฐธานี กราบถวายบังคมสัตยานุสัตย์ถวายต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รับพระราชทานน้ำพิพัฒน์สัตยา ปีละ2 ครั้ง ตามธรรมเนียมสืบไป"หนังสือมา ณ วันอังคาร ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 9 จุลศักราช 1220 ปีมะเมีย สัมฤทธิศก พุทธศักราช 2401"

         เมืองอำนาจเจริญ จึงได้รับการสถาปนาเป็นเมือง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยขึ้นการบังคับบัญชาของเจ้าเมืองเขมราฐธานี โดยมีท้าวจันทบุรม (เสือ) มีพระอมรอำนาจ ซึ่งเป็นบุตรชายของพระเทพวงศา (ท้าวบุญสิงห์) เจ้าเมืองเขมราฐธานี ซึ่งเป็นหลานเจ้าพระวอ เจ้าเมืองอุบลราชธานี เป็นเจ้าเมืองอำนาจเจริญคนแรก นับว่าเมืองอำนาจเจริญ เป็นเชื้อสายของเจ้าพระวอพระตาโดยตรง

        ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ ได้เปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง โดยการปฏิรูปการปกครอง ให้เข้าสู่ระบบการบริหารราชการแผ่นดินแบบยุโรปตามแบบสากล เป็นเทศาภิบาล เมื่อ พุทธศักราช 2429ถึง พุทธศักราช 2445โดยยกเลิกการปกครองแบบเดิมที่ให้มีเจ้าเมือง พระอุปราช ราชวงศ์ และราชบุตร ที่เรียกว่า อาญาสี่ หรือ อาชญาสี่ เป็นตำแหน่งผู้บังคับบัญชาสูงสุด ในหัวเมืองมี 4 ตำแหน่ง

  1. เจ้าเมือง เป็นผู้มีอำนาจสิทธิขาดในการสั่งการบ้านเมืองทั้งปวง แต่ถ้าเป็นเมืองขึ้นเมืองใหญ่ เจ้าเมืองไม่มีอำนาจตัดสินใจประหารชีวิตผู้ร้ายอุกฉกรรจ์ และไม่มีอำนาจถอดถอน กรรมการเมืองผู้ใหญ่ (อุปราช ราชวงศ์ ราชบุตร) ต้องฟังคำสั่งจากเมืองใหญ่ หรือแล้วแต่ พระมหากษัตริย์จะมีพระกระแสรับสั่งถ
  2. อุปราช หรือ อุปฮาด มีหน้าที่ทำการแทนเจ้าเมือง เมื่อ เจ้าเมืองไม่อยู่ หรืออยู่ แต่ไม่สามารถว่าราชการได้ อุปฮาดจะเป็น ผู้ทำการแทนทั้งสิ้นถ
  3. ราชวงศ์ มีหน้าที่เกี่ยวกับอรรถคดี ตัดสินชำระความในการปกครองทั่วไป ราชวงศ์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งอุปราช และเป็นผู้รวบรวมสรรพบัญชี ส่วยอากร เป็นต้นถ
  4. ราชบุตร มีหน้าที่ควบคุมเก็บรักษาผลประโยชน์ของเมือง ราชบุตร แปลว่า บุตรเจ้าเมือง แต่ความจริงแล้ว ไม่จำเป็นต้องเป็นเชื้อพระวงศ์ของเจ้าเมืองเสมอไป แต่อาจเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในราชการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งราชบุตรก็ยังคงเรียกว่า "ราชบุตร"

ตำแหน่งอาญาสี่ นี้ถ้าเป็นเมืองเล็กหรือเมืองที่ขึ้นกับเมืองใหญ่ เรียกว่า เจ้าเมือง อัครฮาด อัครวงศ์ และอัครบุตร เมืองเจริญขึ้นมีผู้คนมากก็จะได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น เช่น เมืองมหาสารคาม ได้เลื่อนตำแหน่งอาญาสี่ ในปีพุทธศักราช 2411 คือ อัครฮาด เป็น อุปฮาด อัครวงศ์ เป็นราชวงศ์ และอัครบุตร เป็นราชบุตร

         ตำแหน่งสำหรับหมู่บ้าน มี 4 ตำแหน่ง ซึ่งเทียบได้เป็นตำแหน่งของการปกครอง ในปัจจุบัน

  1. ท้าวฝ่าย เทียบกับ ตำแหน่งนายอำเภอ
  2. ตาแสง เทียบกับ ตำแหน่งกำนัน
  3. พ่อบ้าน หรือ นายบ้าน เทียบกับ ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน
  4. จ่าบ้าน เทียบกับ ตำแหน่งสารวัตรหมู่บ้าน หรือสารวัตรตำบล

        นับแต่ปี พุทธศักราช 2429 ถึง พุทธศักราช 2455ได้ยกเลิกการปกครองแบบเก่า คือ ยกเลิกตำแหน่งอาญาสี่สืบสกุล ในการเป็นเจ้าเมืองนั้นเสีย จัดให้ข้าราชการจากราชสำนัก ในกรุงเทพฯมาปกครอง เปลี่ยนชื่อตำแหน่งผู้ปกครอง จากเจ้าเมือง มาเป็นผู้ว่าการเมืองแทนและปรับปรุงการปกครองหัวเมืองมณฑลอีสาน จึงยุบเมืองเล็กเมืองน้อยรวมเป็นเมืองใหญ่ ยุบเมืองเป็นอำเภอ เช่น เมืองเขมราฐธานี เมืองยศ(ยโสธร) เมืองฟ้าหยาด(มหาชนะชัย) เมืองลุมพุก(คำเขื่อนแก้ว) เมืองขุหลุ(ตระการพืชผล) เมืองอำนาจเจริญ ไปขึ้นการปกครองกับจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา อำเภออำนาจเจริญจึงได้แต่งตั้งนายอำเภอปกครอง

        นายอำเภอคนแรก คือ รองอำมาตย์โทหลวงเอนกอำนาจ (เป้ย สุวรรณกูฏ)พุทธศักราช. 2455- 2459ต่อมาประมาณ พุทธศักราช๒๔๕๙ ย้ายจากที่เดิม (บ้านค้อ บ้านอำนาจ อำเภอลืออำนาจในปัจจุบัน) มาตั้ง ณ ตำบลบุ่ง ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองในปัจจุบัน ตามคำแนะนำของพระยาสุนทรพิพิธ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขามณฑลอีสาน ได้เดินทางมาตรวจราชการโดยใช้เกวียนเป็นพาหนะ มีความเห็นว่าหากย้ายอำเภอมาตั้งใหม่ที่บ้านบุ่ง ซึ่งเป็นชุมชนและชุมทางสี่แยก ระหว่างเมืองอุบล-มุกดาหาร และเมืองเขมราฐ-เมืองยศ (ยโสธร) โดยคาดว่าจะมีความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปในอนาคต โดยชื่อว่า อำเภอบุ่ง (เสนอแนะย้ายพร้อมกับอำเภอเดชอุดม ย้ายจากเมืองขุขันธ์ (ศรีสะเกษ) มาขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานี) โดยยุบเมืองอำนาจเจริญเป็นตำบล ชื่อว่าตำบลอำนาจ ซึ่งชาวบ้านชอบเรียกว่า เมืองอำนาจน้อย อยู่ในเขตท้องที่อำเภอลืออำนาจในปัจจุบัน ต่อมาในปี พุทธศักราช 2482 จึงเปลี่ยนชื่อจากอำเภอบุ่ง เป็นอำเภออำนาจเจริญ ขึ้นการปกครองกับจังหวัดอุบลราชธานี  ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดอำนาจเจริญ พุทธศักราช 2536 ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม2536 ตรงกับวันพุธ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีระกา ยกฐานะอำเภออำนาจเจริญ เป็นจังหวัดอำนาจเจริญ โดยให้แยกอำเภออำนาจเจริญ อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอพนา อำเภอหัวตะพาน อำเภอเสนางคนิคม และกิ่งอำเภอลืออำนาจ (ปัจจุบันอำเภอลืออำนาจ) รวม 6อำเภอ ๑กิ่งอำเภอ โดยแยกออกจากการปกครองจังหวัดอุบลราชธานี รวมกันขึ้น เป็นจังหวัดอำนาจเจริญ (ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า4-5-6 เล่ม110 ตอนที่ 125ลงวันที่ 2 กันยายน ๒๕๓๖

 

 

จังหวัดอำนาจเจริญตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ระยะทางห่างจากกรุงเทพฯโดยเส้นทางรถยนต์ประมาณ 568 กิโลเมตร มีพื้นที่การปกครองทั้งสิ้น 3,161.248 ตารางกิโลเมตร เริ่มตั้งเป็นเมืองในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยขึ้นอยู่กับนครเขมราฐ ต่อมาจึงได้ย้ายมาขึ้นต่อเมืองอุบลราชธานีจนกระทั่งได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2536 อำนาจเจริญแม้จะเป็นเมืองเล็กๆที่เงียบสงบแต่ก็มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าชมทั้งวัดวาอารามธรรมชาติที่สวยงามและหัตถกรรมฝีมือชาวบ้านที่น่าซื้อเป็นของใช้ของฝากจังหวัดอำนาจเจริญประกอบด้วย 7 อำเภอ คือ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ อำเภอหัวตะพานอำเภอพนา อำเภอเสนางคนิคม อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา และอำเภอลืออำนาจ

 

 

วิสัยทัศน์จังหวัด

ประชาสังคมเข้มแข็ง แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดี มีโอกาสทางการศึกษา พัฒนาคุณภาพชีวิต

 

คำขวัญประจำจังหวัด

พระมงคลมิ่งเมือง         แหล่งรุ่งเรืองเจ็ดลุ่มน้ำ
งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์         เทพนิมิตพระเหลา
เกาะแก่งเขาแสนสวย         เลอค่าด้วยผ้าไหม
 ราษฎร์เลื่อมใสใฝ่ธรรม

 

ตราประจำจังหวัด

สัญลักษณ์ พระมงคลมิ่งเมืองเป็นประธานของภาพ แสงฉัพพรรณรังสีเปล่งรัศมีโดยรอบพระเศียร ซ้ายขวามีต้นไม้อยู่ 2 ข้าง ถัดไปเป็นกลุ่มเมฆ ด้านล่างแถบป้ายบอกชื่อจังหวัดอำนาจเจริญ

ความหมาย พระมงคลมิ่งเมือง เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางแจ้งในบริเวณพุทธอุทยาน พระมงคลมิ่งเมืองประดับด้วยโมเสกสีทองเหลืองอร่าม เป็นศรีสง่าของเมือง เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเมืองอำนาจเจริญ รัศมีสว่างแผ่กระจายรอบพระเศียร หมายถึง พุทธานุภาพแห่งพระมงคลมิ่งเมืองที่แผ่กระจายครอบคลุมทั่วจังหวัด ให้ชาวจังหวัดอำนาจเจริญประสบแต่ความสุข และความเจริญรุ่งเรือง

 

 

.

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ดอกจานเหลือง

อาณาเขต

 

 

ทิศเหนือติดกับอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร และอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร
ทิศตะวันออก ติดกับอำเภอเขมราฐ กุดข้าวปุ้น และอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
ทิศใต้ ติดกับอำเภอเขื่องในและอำเภอม่วงสามสิบจังหวัดอุบลราชธานี
ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอป่าติ้วและอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร

 

เขตการปกครอง

จังหวัดอำนาจเจริญอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ แบ่งเขตการปกครอง 7 อำเภอ คือ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ อำเภอหัวตะพาน อำเภอพนา อำเภอเสนางคนิคม อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา และอำเภอลืออำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบด้วย อบจ. 1 แห่ง เทศบาลเมือง 1 แห่ง เทศบาลตำบล 9 แห่ง และ อบต. 53 แห่ง

 

การเดินทาง

รถยนต์

จากกรุงเทพฯใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ ถึงนครราชสีมา จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 226 นครราชสีมา-สุรินทร์ และใช้ทางหลวงหมายเลข 214 สุรินทร์-อำเภอสุวรรณภูมิ แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 202 ผ่านจังหวัดยโสธร และอำเภอป่าติ้ว ถึงจังหวัดอำนาจเจริญ รวมระยะทางประมาณ 585 กิโลเมตร หรือสามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 1 และหมายเลข 2 จากนั้น ใช้ทางหลวงหมายเลข 226 นครราชสีมา-อุบลราชธานี ถึงจังหวัดอุบลราชธานี แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 212 อุบลราชธานี-อำนาจเจริญ รวมเป็นระยะทางประมาณ 704 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง

มีทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศ สายกรุงเทพฯ-อำนาจเจริญ ออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร หมอชิต 2 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02936 1880, 029360657, 029362852-66 http://www.transport.co.th/

รถไฟหรือเครื่องบิน

สำหรับผู้ที่ใช้บริการทางเครื่องบิน และรถไฟจะต้องลงที่จังหวัดอุบลราชธานีแล้วต่อรถโดยสารมาที่จังหวัดอำนาจเจริญอีกประมาณ 75 กิโลเมตร

 

 

โรงแรม/ที่พัก

โรงแรมแอล เจ ดิเอมเมอรัล

045-451000, 045-270999

โรงแรมฝ้ายขิด

045-511222, 045-511888, 045-511999

ชิตสกนธ์ รีสอร์ท

045-511500-1

ทองทวีเลคไซด์ รีสอร์ท

045-270226

โรงแรมฮอทไลน์ อินน์ รีสอร์ท

045-270222

โรงแรมเลิศวิจิตร

045-511892, 045-451627

เบอร์โทรศัพท์ที่สำคัญ

สถานีตำรวจภูธรเมืองอำนาจเจริญ

045-512007

โรงพยาบาลอำนาจเจริญ

045-511945

สถานีขนส่งจังหวัดอำนาจเจริญ

045-511018

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดอำนาจเจริญ

045-511396

เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ

045-511983

องค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ

045-511026

ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอต่างๆ ในจังหวัดอำนาจเจริญ

อำเภอลืออำนาจ

22 กิโลเมตร

อำเภอปทุมราชวงศา

32 กิโลเมตร

อำเภอหัวตะพาน

35 กิโลเมตร

อำเภอพนา

47 กิโลเมตร

อำเภอชานุมาน

78 กิโลเมตร

อำเภอเสนางคนิคม

18 กิโลเมตร

 

สถานที่ท่องเที่ยว

พระมงคลมิ่งเมือง (พระใหญ่)

เป็นสิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ตั้งอยู่ที่พุทธอุทยาน ถนนชยางกูร  อำเภอเมือง  มีพุทธลักษณะตามอิทธิพลของศิลปะอินเดียเหนือ แคว้นปาละ  ซึ่งได้แผ่อิทธิพลด้านศิลปะมายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 13-16 เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 11 เมตร ส่วนสูงวัดจากพื้นดินระดับต่ำสุดถึงยอดเอว 20 เมตร โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กโดยตลอด  ผิวนอกฉาบปูนบุด้วยกระเบื้องโมเสกสีทอง การก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2508  เชื่อกันว่าพระมงคลมิ่งเมืองเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ มีประชาชนทั้งชาวอำนาจเจริญและจังหวัดใกล้เคียงให้ความเคารพและกราบไหว้บูชาทุกปี ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (วันมาฆะบูชา) ชาวบ้านจะจัดงานนมัสการพระมงคลมิ่งเมืองและถือได้ว่าเป็นงานประจำปีที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดอำนาจเจริญที่ถือปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน มีการแสดง แสง เสียง ตำนานเมืองอำนาจเจริญเป็นประจำทุกปี

 

วัดถ้ำแสงเพชร

วัดถ้ำแสงเพชร  หรือศาลาพันห้อง  เป็นศาลาอยู่ยอดเขาสูง  ทิศเหนือมีถ้ำขนาดใหญ่ ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปสวยงาม ต่อมาเมื่อปี 2511 หลวงปู่ชา (วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี) ได้มาพำนักบำเพ็ญธรรมที่ถ้ำพระใหญ่ 5 คืน ถ้ำแสงเพชรเป็นสำนักสงฆ์ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของวัดหนองป่าพง มีการพัฒนาสิ่งต่างๆ มากมาย  มีการตัดถนนทางราดยางถึงมหาวิหาร  กว้าง 28 เมตร  ยาว 60 เมตร  โดยพื้นชั้นล่างเป็นแทงค์เก็บน้ำฝนไว้ใช้หน้าแล้งและทำให้วิหารมีบรรยา กาศเย็น ข้างมหาวิหารมีพระพุทธไสยาสน์ยาว 19เมตร มีพุทธ ลักษณะที่สวยงาม และเจดีย์สถูปภายในมีรูปปั้นเหมือนของหลวงปู่ชา และภาพเขียนฝาผนังสีน้ำพุทธประวัติสวยงามมาก ห่างจากจังหวัดฯ ไปทางอำเภอปทุมราชวงศา 11 กิโลเมตร

แหล่งโบราณคดีเสมาหลายพันปี

แหล่งโบราณคดีบ้านเปือยหัวดง ต.เปือย อ.ลืออำนาจ ถือเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดอำนาจเจริญ ดังปรากฎว่ามีการสร้างเสมาบริเวณใกล้เคียงกันถึง 3 แห่งด้วยกัน ได้แก่  (1) กลุ่มเสมาหลังโรงเรียนชุมชนเปือยหัวดง ปักล้อมฐานหินทรายที่ตั้งรูปเคารพ และพระพุทธรูปที่นั่งขัดสมาธิราบสมัยทวาราวดีตอนปลาย องค์หนึ่ง ลักษณะของเสมาเรียบไม่มีลวดลายแต่ตรงกลางเป็นแกนสัน ที่เรียวไปถึงยอด  (2) กลุ่มเสมาบริเวณวัดป่าเรไร บ้านเปือยหัวดง วัดป่าเรไรปัจจุบันเป็นที่พักสงฆ์ นับเป็นกลุ่มเสมาที่มีความหนาแน่นแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นกลุ่มเสมาที่ทำด้วยศิลาแลง ไม่มีการสลักลวดลายมากนัก เพียงแต่ตกแต่งรูปร่างให้เป็นเสมาและมีการสลักฐานบัวค่ำบัวหงายมีสันนูนคล้ายยอดสถูปตรงกลาง   (3) กลุ่มเสมาในเขตวัดโพธิ์ศิลา  บ้านเปือยหัวดง เป็นเนินศาสนสถานที่มีกลุ่มเสมาหินทรายปักอยู่ มีการสลักเป็นรูปหม้อน้ำหรือบูรณฆฎะ๑ นอกจากนี้ยังได้ขุดพบหม้อดินเผาขนาดใหญ่ลายเชือกทาบ ภายในหม้อบรรจุพระพุทธรูปประทัยนั่งขนาดเล็กบุเงินจำนวนมาก

 

.

แก่งต่างหล่าง

 

.

สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่บ้านศรีสมบูรณ์ ต.ชานุมาน อ.ชานุมาน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 80 กิโลเมตร และห่างจากตัวอำเภอชานุมานประมาณ 1 กิโลเมตร ลักษณะของแก่งต่างหล่างคือเป็นโขดหินขรุขระอยู่ริมแม่น้ำโขง เป็นหินศิลาแลงคล้ายชามหรืออ่าง เป็นแอ่งเป็นคุ้ง ในฤดูฝนน้ำจะท่วม เนื่องจากแม่น้ำโขงมีระดับน้ำสูงจึงท่วมแอ่ง หน้าแล้งแอ่งน้ำจะมีความสวยงามมาก เหมาะเป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ คำว่า "ต่างหล่าง" เป็นภาษาถิ่น บอกถึงลักษณะของภาชนะที่มีลักษณะกว้างและตื้น

 

 

สวนมิ่งเมืองเฉลิมพระเกียรติ

 

 

ตั้งอยู่ที่ตำบลบุ่ง อำเภอเมือง มีเนื้อที่ 35 ไร่ 13 ตารางวา ภายในสวนมิ่งเมืองเฉลิมพระเกียรติ เป็นที่ตั้งของศาลหลักเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามกุฎราชกุมาร ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินเปิดศาลหลักเมือง เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2544

 

 

น้ำตกห้วยทราย

 

 

ห่างจากบ้านห้วยฆ้อง  ตำบลป่าก่อ  อำเภอชานุมาน ประมาณ 2  กิโลเมตร    เป็นน้ำตกที่ใสสะอาดไหลผ่านโขดหินเป็นบริเวณกว้าง  เป็นน้ำตกที่สวยงามเหมาะกับการท่องเที่ยว

10 กรกฎาคม 2556 | จำนวนเข้าชม 4525 ครั้ง